อุดมการณ์สหกรณ์คือ
"ความเชื่อร่วมกันที่ว่าการช่วยตนเองและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักการสหกรณ์ (หลักการสหกรณ์ 7 ข้อ)
จะนำไปสู่การกินดีอยู่ดี มีความเป็นธรรมและสันติสุขในสังคม"
หลักการสหกรณ์ คือ
“แนวทางที่ สหกรณ์ยึดถือปฏิบัติเพื่อให้คุณค่าของสหกรณ์ เกิดผลเป็นรูปธรรม”
ซึ่งประกอบด้วยหลักการ ที่สำคัญรวม 7 ประการ กล่าวคือ
หลักการที่ 1 การเป็นสมาชิกโดยสมัครใจและเปิดกว้าง (Voluntary and Open Membership)
ข้อสังเกตที่สำคัญจากที่ประชุม
(1) พึงตระหนักว่าการเข้าและออกจาก การเป็นสมาชิก จะต้องเป็นไปโดยความสมัครใจ ของบุคคล (คำว่า “บุคคล” หมายถึง ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล) ไม่ใช่ ถูกชักจูง โน้มน้าว ล่อลวง บังคับ ข่มขู่ จากผู้อื่น
(2) อย่างไรก็ดีการกำหนดคุณสมบัติ สมาชิกของสหกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ได้บุคคลที่เข้า มาเป็นสมาชิกแล้วสามารถร่วมกันดำเนิน กิจกรรมในสหกรณ์ได้และไม่สร้างปัญหาความ เดือดร้อนให้แก่เพื่อนสมาชิกและสหกรณ์ไม่ ถือว่าขัดกับหลักการสหกรณ์ข้อนี้
(3) สมาชิกสมทบนั้น ควรมีแต่เฉพาะ กรณีของสหกรณ์บางประเภทที่มีลักษณะพิเศษ และจำเป็นเท่านั้น ไม่ควรให้มีในสหกรณ์ทั่วไป หรือทุกประเภท เพราะตามปกติสมาชิกสมทบมาจากบุคคลซึ่งขาดคุณสมบัติที่จะเป็นสมาชิกธรรมดาหากสหกรณ์ใดรับสมาชิกสมทบจำนวนมากก็อาจกระทบต่อการส่งเสริมผลประโยชน์ของสมาชิกธรรมดาได้แม้ว่ากฎหมาย จะได้ห้ามมิให้สมาชิกสมทบมีสิทธิบางประการ ก็ตาม
หลักการที่ 2 การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย (Democratic Member Control)
ข้อสังเกตที่สำคัญจากที่ประชุม
พึงตระหนักว่าเป็นหน้าที่ของสมาชิกทุก คนที่จะต้องร่วมแรงกายใจ และสติปัญญาในการ ดำเนินการและควบคุมดูแลการดำเนินงานของ สหกรณ์ตามวิถีทางประชาธิปไตย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยผ่านช่องทางหรือองค์กรต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการดำเนินการ ผู้ตรวจสอบ กิจการ และที่ประชุมใหญ่
หลักการที่ 3 การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสมาชิก (Member Economic Participation)
ข้อสังเกตที่สำคัญจากที่ประชุม
(1) หลักการสหกรณ์ข้อนี้มุ่งเน้นให้ สมาชิกทุกคนพึงตระหนักว่าบทบาทที่สำคัญ ของตน คือ การที่ต้องเป็นทั้งเจ้าของ และลูกค้า ในคนเดียวกัน (Co-owners customers) จึงต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้สมทบทุน ผู้ควบคุม และผู้อุดหนุน หรือผู้ใช้บริการของสหกรณ์ มิใชเข้ามาเป็นสมาชิกเพียงเพื่อมุ่งหวังได้รับ ประโยชน์จากสหกรณ์เท่านั้น
(2) ในการจัดสรรกำไรสุทธิเพื่อความ เป็นธรรมแก่สมาชิก ส่วนหนึ่งต้องกันไว้เป็น ทุนสำรอง ซึ่งจะนำไปแบ่งกันมิได้แต่เป็นทุน เพื่อพัฒนาสหกรณ์ของพวกเขาเองถือว่าเป็นทุน ทางสังคม นอกนั้น อาจแบ่งเป็นเงินปันผลใน อัตราจำกัด และเป็นเงินเฉลี่ยคืนตามส่วนแห่ง ธุรกิจ
หลักการที่ 4 การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ (Autonomy and Independence)
ข้อสังเกตที่สำคัญจากที่ประชุม
(1) สมาชิก กรรมการ และพนักงาน สหกรณ์รวมทั้งหน่วยงานส่งเสริมสหกรณ์ต้อง สำนึกและตระหนักอยู่เสมอว่าสหกรณ์เป็นองค์การช่วยตนเอง และปกครองตนเอง เพราะ ฉะนั้นสหกรณ์ต้องเป็นอิสระในการตัดสินใจหรือ ทำสัญญาใด ๆ ตามเงื่อนไขที่สหกรณ์ยอมรับได้ กับบุคคลภายนอกหรือรัฐบาล
(2) การรับความช่วยเหลือหรือสนับสนุนจากรัฐหรือบุคคลภายนอกไม่ขัดกับ หลักความเป็นอิสระของสหกรณ์หากผู้ให้ความ ช่วยเหลือมุ่งหมายให้สหกรณ์ช่วยเหลือตนเอง ได้และควบคุมตามหลักประชาธิปไตยรวมทั้งธำรงไว้ซึ่งความเป็นตัวของตัวเองของสหกรณ
หลักการที่ 5 การศึกษา ฝึกอบรม และสารสนเทศ (Education, Training and Informatio)
ข้อสังเกตที่สำคัญจากที่ประชุม
(1) หลักการข้อนี้เป็นจุดอ่อนของสหกรณ์ในประเทศไทยทุกระดับทั้ง สหกรณ์ขั้นปฐมและสหกรณ์ขั้นสูง เพราะขาดแผนแม่บท ในการพัฒนา การศึกษาทาง สหกรณ์ให้เป็นบทบาท และความรับผิดชอบของขบวนการณ์สหกรณ์อย่างแท้จริง ทั้ง ๆ ที่ได้ ริเริ่มให้จัดตั้งกองทุนสะสม จัดสหภาพสหกรณ์ จากกำไรของสหกรณ์ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2492 และ แม้จะมีการจัดตั้งสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศ ไทย และมีชุมนุมสหกรณ์ระดับชาติบ้างแล้ว ส่วสหกรณ์แทบจะเรียกได้ว่าซ้ำซ้อนกับขบวนการ สหกรณ์โดยไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนให้ขบวนการ สหกรณ์สามารถรับผิดชอบให้การศึกษา และ ฝึกอบรมทางสหกรณ์ได้ด้วยตนเองในที่สุด โดย มีหน่วยงานของรัฐทำหน้าที่ให้การสนับสนุน อย่างเพียงพอตามความจำเป็นและเน้นการฝึก อบ รมข้าราชการให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
(2) การศึกษาฝึกอบรมและสาร สนเทศมีความมุ่งหมายและเน้นกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ 1) การศึกษามุ่งให้สมาชิกและ บุคคลทั่วไป ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่จะเป็นสมาชิกใน อนาคต มีความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับการ สหกรณ์รวมทั้งมีความสำนึก และตระหนักในนราชการที่ทำหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ก็ยังคง ดำเนินการให้การศึกษาและฝึกอบรมทางสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก หรือให้เป็นผู้มีจิต วิญญาณสหกรณ์ 2) การฝึกอบรมมุ่งให้กรรมการ ผู้จัดการ และพนักงานสหกรณ์มีความรู้ความ สามารถ และทักษะ รวมทั้งความรับผิดชอบใน บทบาทหน้าที่ของตน 3 ส่วนสารสนเทศนั้นมุ่งให้บุคคล ทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเยาวชน และผู้นำด้านความคิดเห็น เช่น ผู้นำชุมชน นักหนังสือพิมพ์ นักเขียน ผู้นำองค์กรพัฒนา ชุมชน ฯลฯ โดยเน้นการติดต่อสื่อสาร 2 ทาง
(3) หลักสูตรและเนื้อหาของการ ให้การศึกษา อบรมควรครอบคลุมทั้ง ด้ านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ วัฒนธรรม
หลักการที่ 6 การร่วมมือระหว่างสหกรณ์ (Cooperation among Cooperatives)
ข้อสังเกตที่สำคัญจากที่ประชุม
(1) แท้จริงการร่วมมือกันระหว่าง สหกรณ์เป็นหลักการเดียวกันกับการร่วมมือ ระหว่างบุคคลธรรมดาในการจัดตั้งสหกรณ์ นั่นเอง ซึ่งจะก่อให้เกิดการประหยัดด้วยขนาด มีอำนาจการต่อรองสูงขึ้น และนำไปสู่การรับใช้ สมาชิกอย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
(2) การร่วมมือระหว่างสหกรณ์อาจ ทำได้ทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง ในแนวนอนสหกรณ์ทุกสหกรณ์ไม่ว่าประเภทเดียวกันหรือ ไม่ สามารถร่วมมือกันได้ในทุกระดับ เพื่อประโยชน์สูงสุดของสมาชิกและขบวนการ สหกรณ์ ในแนวตั้งสหกรณ์ท้องถิ่น ประเภท เดียวกัน ควรรวมตัวกันทางธุรกิจเป็นชุมนุม สหกรณ์ระดับภูมิภาค หรือระดับประเทศและ ระดับระหว่างประเทศ และสหกรณ์ทุกประเภท ทุกระดับ ทุกสหกรณ์ควรรวมตัวกันเป็นองค์การ สหกรณ์สูงสุด (Apex Organization) เพื่อ ประโยชน์ในการส่งเสริมด้านอุดมการณ์ การศึกษา การฝึกอบรม การส่งเสริมแนะนำ การกำกับดูแล การตรวจสอบ การวิจัย และ การพัฒนา ฯลฯ
(3) วัตถุประสงค์สำคัญของการร่วมมือ ระหว่างสหกรณ์คือ เพื่อให้สหกรณ์สามารถ อำนวยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคมแก่ สมาชิกอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด และทำให้ ขบวนการสหกรณ์เข้มแข็ง เพราะฉะนั้น สหกรณ์ท้องถิ่นแต่ละสหกรณ์ และสหกรณ์ ขั้นสูงต้องเป็นสหกรณ์ที่มีความเข้มแข็งและ ยั่งยืนมีชีวิตชีวา (Viable & Sustainable) และร่วมมือกันใน ลักษณะของ “ระบบรวม” หรือเป็นเอกภาพ
หลักการที่ 7 การเอื้ออาทรต่อชุมชน (Concern for Community)
ข้อสังเกตที่สำคัญจากที่ประชุม
(1) สหกรณ์เป็นองค์การทางเศรษฐกิจ และสังคม และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่ สหกรณ์ตั้งอยู่ เพราะฉะนั้น การดำเนินงาน ของสหกรณ์ต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ของชุมชนนั้น ๆ ซึ่งหมายความว่า เป็นการพัฒนา ที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ หรือเป็นการพัฒนาที่สนอง ความต้องการและความใฝ่ฝันของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ทำลายโอกาส ความสามารถ และอนาคต ของคนรุ่นหลัง
(2) เนื่องจากสมาชิกสหกรณ์ก็เป็น สมาชิกของชุมชนนั้นเอง สหกรณ์จึงควรมีส่วน ช่วยเหลือในการพัฒนาชุมชนนั้นแบบยั่งยืน
วิธีการสหกรณ์ คือ
“การนำหลักการสหกรณ์ มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และสังคม เพื่อประโยชน์ของมวลสมาชิกและ ชุมชน โดยไม่ละเลยหลักการธุรกิจที่ดี”
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่
61 ถนนศรีตรัง ตำบลกระบี่ใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 81000
โทรศัพท์. 0-7566-3580 โทรสาร. 0-7566-3583 E-mail.
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2565 Copyright © 2022 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่
ภาพประกอบจากเว็บไซต์