สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่ผู้มีอาชีพทางการเกษตรรวมตัวกันจัดตั้งขึ้น และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต่อนายทะเบียนสหกรณ์
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สมาชิกดำเนินกิจกรรมร่วมกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อแก้ไขความเดือดร้อน ในการประกอบอาชีพของสมาชิก
และช่วยยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของสมาชิกให้ดีขึ้น
ประวัติความเป็นมา
สหกรณ์การเกษตรแห่งแรกได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 ชื่อว่า “สหกรณ์วัดจันทร์” ในจังหวัดพิษณุโลก
เป็นสหกรณ์การเกษตรชนิดไม่จำกัด มีขนาดเล็กในระดับหมู่บ้านตั้งขึ้นในหมู่เกษตรกรที่มีรายได้ต่ำและมี หนี้สินมาก มีสมาชิกแรกตั้งจำนวน 16 คน
มีทุนดำเนินงานจำนวน 3,080 บาท จากค่าธรรมเนียมแรกเข้า 80 บาท และเป็นทุนจากการกู้แบงค์สยามกัมมาจล (ธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน) 3,000 บาท
ความหมาย
สหกรณ์การเกษตรที่ได้รับจดทะเบียนได้ต้องมีลักษณะเป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของสามาชิกซึ่งเป็นผู้ประกอบอาชีพหลักทางเกษตรกรรมภายในพื้นที่อำเภอเดียวกันหรือเป็นสหกรณ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนฐานะกลุ่มเกษตรกร เว้นแต่มีเหตุอันสมควร นายทะเบียนสหกรณ์ อาจรับจดทะเบียนสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของผู้ประกอบอาชีพหลักทางเกษตรกรรมซึ่งอยุ่ต่างพื้นที่กันได้
วัตถุประสงค์
1. ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจ การผลิต การค้า การบริการ และอุตสาหกรรมทางเกษตรอันจำเป็นในการประกอบอาชีพและการดำรงชีพของสมาชิก
2. แก้ไขปัญหาและพัฒนาการประกอบอาชีพของสมาชิก
3. ส่งเสริมการออมของสมาชิก
4. ส่งเสริมและเผยแพร่อาชีพเกษตรกรรม หัตถกรรม และอุตสาหกรรมในครัวเรือนหรือการประกอบอาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวกับเกษตรกรรม รวมทั้งส่งเสริมความรู้ในการผลิตทางอุตสาหกรรมให้แก่สมาชิกและครอบครัว
ขอบเขตของสหกรณ์การเกษตร
1. จัดหาทุนเพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ โดยวิธีการขายหุ้น การรับฝากเงินและการกู้ยืมเงิน
2. ฝากเงินหรือลงทุนอย่างอื่นตามมาตรา 62
3. จัดให้มีเงินกู้หรือสินเชื่อแก่สมาชิกเพื่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการดำรงชีพหรือให้สหกรร์อื่นกุ้ยืมเงิน
4. จัดหาปัจจัยการผลิต วัสดุการเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นเพื่อจำหน่ายแก่สมาชิก
5. รวบรวมผลิตผลการเกษตร ผลิตภัณฑ์และบริการของสมาชิกเพื่อจัดการขาย หรือ แปรรูปออกขาย โดยซื้อหรือรวบรวมผลิตผลจากสมาชิกก่อนผู้อื่น
6. จัดให้มีบริการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการทางการเกษตร รวมทั้งจัดให้มีตลาดกลางเพื่อการเกษตร เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพและการดำรงชีพของสมาชิก
7. จัดให้มีสิ่งปลูกสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม เครื่องมือ เครื่องจักรกลการเกษตร หรือยานพาหนะขนส่ง เกี่ยวกับการผลิต รวบรวม เก็บรักษา หรือแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร สำหรับกิจการของสหกรณ์หรือให้บริการแก่สมาชิก
8. ส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก
9. ดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์หรือการให้บริการแก่สมาชิกเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตร
สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่ชาวประมงเพื่อแก้ไขปัญหา และอุปสรรคในการประกอบอาชีพ ซึ่งชาวประมงแต่ละคน ไม่สามารถแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ตามลำพังบุคคลเหล่านี้
จึงรวมตัวกันโดยยึดหลักการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ประวัติความเป็นมา
สหกรณ์ประมงแห่งแรกได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2492 ชื่อว่า “สหกรณ์ประมงพิษณุโลก จำกัด” ในท้องที่ลำคลองกระบังโป่งนก อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
เป็นสหกรณ์ประมงประเภทน้ำจืด มีสมาชิกแรกตั้งจำนวน 54 คน สหกรณ์ได้ดำเนินการจัดสรรที่ทำกินให้สมาชิกช่วยเหลือสมาชิกในด้านการจำหน่าย การแปรรูป สัตว์น้ำ
ขออนุญาตสัมปทานให้สมาชิกจับสัตว์น้ำได้โดยสะดวก แนนำเทคนิคการจับสัตว์น้ำ และละเว้นการจับสัตว์น้ำที่ยังไม่ได้ขนาดเพื่อสงวนพันธุ์สัตว์น้ำ การดำเนินงานเป็นไปด้วยดี
จนถึงปี พ.ศ. 2513 ทางราชการมีนโยบายให้คลองต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรเป็นที่สาธารณะ การจับสัตว์น้ำเป็นไปโดยเสรี การดำเนินงานสหกรณ์จึงไม่ได้ผลเท่าที่ควร
ปัจจุบันสหกรณ์นี้ได้ควบเข้ากับ “สหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด” สำหรับการจัดตั้งสหกรณ์ประมงประเภทน้ำเค็มได้เริ่มจัดตั้งครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2495 ชื่อว่า
“สหกรณ์ประมงกลาง จำกัด” ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาทุนจำหน่ายสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์แปรรูป จัดหาวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือประมง
ความหมาย
สหกรณ์ประมงที่จะรับจดทะเบียนได้ต้องมีลักษณฑเป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของสมาชิกซึ่งเป็นผู้ประกอบอาชีพหลักทางประมงที่เกี่ยวกับการจับสัตว์น้ำ การเลี้ยงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือเป็นสหกรณ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนฐานะกลุ่มเกษตรกร
วัตถุประสงค์
1. ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจ การผลิต การค้า และการบริการอันจำเป็นในการประกอบอาชีพหลักทางการประมงและการดำรงชีพของสมาชิก
2. แก้ไขปัญหาและพัฒนาการประกอบอาชีพของสมาชิก
3. ส่งเสริมการออมของสมาชิก
4. ส่งเสริมและเผยแพร่อาชีพการประมง อุตสาหกรรมในครัวเรือนหรือการประกอบอาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวกับการประมง รวมทั้งส่งเสริมความรุ้ในการผลิตทางอุตสาหกรรมให้แก่สมาชิกและครอบครัว
ขอบเขต
1. จัดหาทุนเพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ โดยวิธีการขายหุ้น การรับฝากเงินและการกู้ยืมเงิน
2. ฝากเงินหรือลงทุนอย่างอื่นตามมาตรา 62
3. จัดให้มีเงินกุ้หรือสินเชื่อแก่สมาชิกเพื่อการประกอบอาชีพและการดำรงชีพหรือให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงิน
4. จัดหาปัจจัยการผลิต วัสดุที่เกี่ยวกับการประมง และสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นเพื่อจำหน่ายแก่สมาชิก
5. รวบรวมผลิตผลทางการประมง ผลิตภัณฑ์และบริการของสมาชิกเพื่อจัดการขายหรือแปรรูปออกขาย โดยซื้อหรือรวบรวมผลิตผลจากสมาชิกก่อนผู้อื่น
6. จัดให้มีบริการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการทางการประมง รวมทั้งจัดให้มีตลาดกลางเพื่อการประมง เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพและการดำรงชีพของสมาชิก
7. จัดให้มีสิ่งปลูกสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม เครื่องมือ เครื่องจักรกล หรือยานพาหนะขนส่งเกี่ยวกับการผลิต รวบรวม เก็บรักษา หรือแปรรูปผลผลิต สำหรับกิจการของสหกรณ์ประมงหรือให้บริการแก่สมาชิก
8. ส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก
9. ดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์หรือการให้บริการแก่สมาชิก เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของสหกรณ์ประมง
ที่ดิน นับเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งในการประกอบอาชีพทางการเกษตร มีเกษตรกรเป็นจำนวนมาก ที่ประสบปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกิน หรือมีที่ดินทำกินน้อยไม่เพียงพอ
กับการเพาะปลูก ต้องเช่าที่ดินจากนายทุนมาทำกิน โดยยอมเสียค่าเช่าราคาแพง และเมื่อรายได้จากการจำหน่ายผลิตผลน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่มีภาระหนี้สิน
และมีฐานะยากจนเรื้อรังจนยากที่จะสร้างตัวเองให้มีฐานะมั่นคงได้ ดังนั้นจึงมีเกษตรกรจำนวนมิใช่น้อยใช้วิธีแก้ปัญหาโดยการบุกรุกเข้าไปทำกินในที่สาธารณประโยชน์และที่สงวนแห่งชาติ
โดยพลการ ซึ่งนอกจากจะเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายแล้ว ยังเป็นการทำลายป่าไม้และต้นน้ำลำธาร อันเป็นทรัพยากรที่มีค่าของชาตินับเป็นผลเสียต่อความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ
และก่อให้เกิดปัญหาฝนแล้งหรืออุทกภัย ซึ่งก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ส่วนรวมอย่างมากมาย ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ จึงจำเป็นที่รัฐจะต้องเข้าไปช่วยเหลือราษฎรที่ประกอบอาชีพทางเกษตร
แต่ขาดแคลนที่ดินเหล่านั้น ให้ได้รับจัดสรรที่ดินทำกินในขนาดที่เหมาะสมเพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม โดยสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสหกรณ์เกี่ยวกับที่ดินขึ้น เพราะเห็นว่าสหกรณ์
เป็นระบบเศรษฐกิจที่สมาชิกจะได้ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
สหกรณ์นิคม
สหกรณ์นิคมที่จะรับจดทะเบียนได้ต้องมีลักษณะเป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในเขตนิคมสหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่เพื่อการครองชีพ หรือในพื้นที่ที่หน่วยของรัฐกำหนดเพื่อให้สมาชิกได้รับที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม
วัตถุประสงค์
1. แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับที่ดินเพื่อใช้ในการทำกินเป็นที่อยุ่อาศัยของสมาชิก รวมทั้งพัฒนาการประกอบอาชีพของสมาชิก
2. ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจ การผลิต การค้า และการบริการ อันจำเป็นในการประกอบอาชีพหลักและการดำรงชีพของสมาชิก
3. ส่งเสริมการออมทรัพย์
4. ส่งเสริมและเผยแพร่อาชีพเกษตรกรรม หัตถกรรม อุตสาหกรรมในครัวเรือนหรือการประกอบอาชีพอย่างอื่น รวมทั่งส่งเสริมความรู้ในการผลิตทางอุตสาหกรรมให้แก่สมาชิกและครอบครัว
ขอบเขต
1. จัดหาทุนเพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ โดยวิธีการขายหุ้น การรับฝากเงินและการกู้ยืมเงิน
2. ฝากเงินหรือลงทุนอย่างอื่นตามมาตรา 62
3. จัดให้มีเงินกู้หรือสินเชื่อแก่สมาชิกเพื่อการประกอบอาชีพและการดำรงชีพหรือให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงิน
4. ครอบครองและจัดที่ดินให้สมาชิกใช้เป็นที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพโดยการเช่าหรือการเช่าซื้อ
5. พัฒนาหมู่บ้าน การคมนาคม บริการสาธารณะต่าง ๆ ตลอดจนพัฒนาที่ดิน เพื่อให้เกิดความสะดวกและเหมาะสมในการใชงาน
6. จัดหาปัจจัยการผลิต และวัสดุการเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภค ที่จำเป็นเพื่อจำหน่ายแก่สมาชิก
7. รวบรวมผลิตผลการเกษตร ผลิตภัณฑ์และบริการของสมาชิกเพื่อจัดการขายหรือแปรรูปออกขายโดยซื้อหรือรวบรวมผลิตผลจากสมาชิกก่อนผู้อื่น
8. จัดให้มีบริการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการทางการเกษตร รวมทั้งจัดให้มีตลาดกลางเพื่อการเกษตร เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพและการดำรงชีพของสมาชิก
9. จัดให้มีสิ่งปลูกสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม เครื่องมือ เครื่องจักรกลการเกษตรหรือยานพาหนะขนส่ง เกี่ยวกับการผลิต รวบรวม เก็บรักษา หรือแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรสำหรับกิจการของสหกรณ์หรือให้บริการแก่สมาชิก
10. ส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก
11. ดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์หรือการให้บริการแก่สมาชิก เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของสหกรณ์นิคม
สหกรณ์ออมทรัพย์
สหกรณ์ออมทรัพย์ที่จะรับจดทะเบียนได้ต้องมีลักษณะเป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของสมาชิกซึ่งเป็นบุคคลซึ่งประกอบอาชีพหลักในสังกัดหน่วยงาน องค์กร หรือ สถานประกอบการเดียวกันหรือในเครือเดียวกัน และเป็นผู้มีเงินได้รายเดือนหรือเงินได้ประจำที่หน่วยงานต้นสังกัดหรือนายจ้างในสถานะประกอบการสามารถหักเงิน ณ ที่จ่ายส่งให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์นั้นได้
วัตถุประสงค์
1. ส่งเสริมการออมของสมาชิก
2. ให้บริการทางการเงินแก่สมาชิก
ขอบเขต
1. จัดหาทุนเพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ โดยวิธีการขายหุ้น การรับฝากเงินและการกู้ยืมเงิน
2. ฝากเงินหรือลงทุนอย่างอื่นมาตรา 62
3. จัดให้มีเงินกู้หรือสินเชื่อแก่สมาชิกเพื่อการดำรงชีพและเพื่อการเคหะ หรือให้สหกรณ์อื่่นกู้ยืมเงิน
4. ส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก
5. ดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์หรือการให้บริการแก่สมาชิก เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์
ประวัติความเป็นมา
ประเทศไทยได้เริ่มจัดตั้งร้านสหกรณ์เมื่อปีพ.ศ. 2480 โดยตั้งขึ้นในหมู่ชาวชนบทของอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ร้านสหกรณ์แห่งนี้ต้องเลิกล้ม
ต่อมาได้มีการจัดตั้งร้านสหกรณ์เพิ่มขึ้นอีกหลายๆ แห่ง กรมส่งเสริมสหกรณ์มีโครงการส่งเสริมให้ประชาชนจัดตั้งร้านสหกรณ์ทุกจังหวัดทั่วประเทศ และแนะนำส่งเสริม
ให้ร้านสหกรณ์ทุกจังหวัดขยายสาขาไปยังอำเภอต่างๆ อย่างทั่วถึง โดยให้ความช่วยเหลือแก่ร้านสหกรณ์ที่มีอยู่แล้ว ให้สามารถดำเนินงานให้บริการสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีปริมาณธุรกิจเพียงพอ และมีฐานะมั่นคง พร้อมกันนั้นก็จะช่วยให้มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างสหกรณ์ทุกประเภท และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอันที่จะดำเนินธุรกิจ
เกื้อกูลซึ่งกันและกัน อนึ่งร้านสหกรณ์ที่ดำเนินงานประสบความสำเร็จมักจะเป็นร้านสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในตัวเมืองซึ่งประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น และร้านสหกรณ์ที่ตั้งขึ้น
ในหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชน สำหรับร้านสหกรณ์ในชนบทนั้นมักดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
ความหมาย
สหกรณ์ร้านค้าที่จะรับจดทะเบียนได้ต้องมีลักษณะเป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของคณะบุคคลเพื่อจัดหาและรวบรวมสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิกเพื่อจำหน่ายโดยต้องไม่มีลักษณะเป็นธุรกิจขายตรงหรือธุรกิจอื่นในลักษณะเดียวกัน
วัตถุประสงค์
1. แก้ไขปัญหาความเดือนร้อนจากความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าอันจำเป็นร่วมกันของสมาชิก
2. ส่งเสริมและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิก
3. ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจการค้าของสมาชิก
ขอบเขต
1. จัดหาทุนเพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ โดยวิธีการขายหุ้น และการกู้ยืมเงิน
2. ฝากเงินหรือลงทุนอย่างอื่นตามมาตรา 62
3. จัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อจำหน่ายให้แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไปหรือเพื่อการเชื่อมโยงสินค้าในระบบสหกรณ์
4. รวบรวมหรือช่วยจำหน่ายผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิก
5. จำหน่ายสินค้าสินค้าแก่สมาชิกด้วยวิธีการผ่อนชำระ
6. ให้บริการเป็นตัวแทนของผู้ประกอบธุรกิจให้บริการรับชำระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน
7. ส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก
8. ดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์หรือการให้บริการแก่สมาชิกเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของสหกรณ์ร้านค้า
สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ โดยมีประชาชนไม่น้อยกว่า 10 คน ที่มีอาชีพอย่างเดียวกัน ได้รับ ความเดือดร้อนในเรื่องเดียวกันรวมตัวกันโดย ยึดหลักการประหยัด การช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อแก้ ปัญหาต่างๆ รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงในอาชีพต่อไป
ความเป็นมา
สหกรณ์บริการแห่งแรกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2484 เป็นการรวมตัว กันในกลุ่มผู้มีอาชีพทำร่ม ชื่อ สหกรณ์ผู้ทำร่มบ่อสร้าง จำกัดสินใช้ อยู่ที่ตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์บริการไฟฟ้าหนองแขม จำกัด อำเภอ หนองแขม กรุงเทพมหานคร เป็นสหกรณ์ที่ให้บริการด้านสาธรณูปโภค และในปี พ.ศ. 2497 จัดตั้งสหกรณ์มีดอรัญญิก จำกัด ที่ตำบลทุ่งช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และมีสหกรณ์บริการ อีกหลายแบบตามมา เช่น สหกรณ์เคหสถาน สหกรณ์แท็กซี่ สหกรณ์ หัตถกรรมผลิตภัณฑ์ไม้ สหกรณ์บริการน้ำประปา สหกรณ์ผู้จัดหางาน แห่งประเทศไทย ฯลฯ
สหกรณ์บริการ มี 2 ประเภท
1. สหกรณ์บริการประเภทที่มีสมาชิกประกอบอาชีพหลักด้านเดียวกัน
2. สหกรณ์บริการประเภทที่มีสมาชิกประสงค์รับบริการด้านเดียวกัน
สหกรณ์บริการประเภทที่มีสมาชิกประกอบอาชีพหลักด้านเดียวกันที่จะรับจดทะเบียนได้ต้องมีลักษณะเป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของผู้มีอาชีพหลักเดียวกัน แต่ไม่รวมถึงผู้ประกอบอาชีพหลักทางเกษตรกรรมหรือทางการประมง และต้องไม่เป็นการจัดตั้งสหกรณ์เพื่อดำเนินกิจการทางการเงินเพียงอย่างเดียว
สหกรณ์บริการประเภทที่มีสมาชิกประกอบอาชีพหลักด้านเดียวกันวัตถุประสงค์ดังนี้
1. ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจ การผลิต การค้า การบริการ และอุตสาหกรรม อันจำเป็นเกี่ยวกับอาชีพหลักและการดำรงชีพของสมาชิก
2. แก้ไขปัญหาและพัฒนาการประกอบอาชีพของสมาชิก
3. ส่งเสริมการออมของสมาชิก
4. ส่งเสริม เผยแพร่ และให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับการประกอบอาชีพให้แก่สมาชิกและครอบครัว
สหกรณ์บริการประเภทที่มีสมาชิกประกอบอาชีพหลักด้านเดียวกันมีขอบเขตแห่งการดำเนินกิจการดังนี้
1. จัดหาทุนเพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ โดยวิะีการขายหุ้น การรับฝากเงินและการกุ้ยืมเงิน
2. ฝากเงินหรือลงทุนอย่างอื่นตามมาตรา 62
3. จัดให้มีเงินกู้หรือสินเชื่อแก่สมาชิกเพื่อการประกอบอาชีพและการดำรงชีพ หรือให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงิน
4. จัดหาสินค้าที่จำเป็นในการประกอบอาชีพและสินค้าอุปโภคเพื่อจำหน่ายแก่สมาชิก
5. จัดให้มีบริการด้านต่าง ๆ เพื่อการประกอบอาชีพและการดำรงชีพของสมาชิก
6. ส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก
7. ดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์หรือการให้บริการแก่สมาชิกเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของสหกรณ์ประเภทที่มีสมาชิกประกอบอาชีพหลักด้านเดียวกัน
สหกรณ์บริการประเภทที่มีสมาชิกประสงค์รับบริการด้านเดียวกันที่จะรับจดทะเบียนได้ต้องมีลักษณะเป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกันหรือใกล้เคียงกันภายในพื้นที่จังหวัดเดียวกัน ซึ่งมีความต้องการที่ระรับบริการอย่างเดียว หรือเป็นผู้ซึ่งเดือนร้อนเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง และประสงค์ที่จะดำเนินการร่วมกันในการจัดหาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง และประสงค์ที่จะดำเนินการร่วมกันในการจัดหาหรือจัดสรรที่ดินหรือที่อยู่อาศัยโดยวิธีการซื้อ เช่า เช่าซื้อ หรือใช้ที่ดินที่รัฐหรือเอกชนยกให้เพื่อให้สมาชิกมีที่อยู่อาศัย
สหกรณ์บริการประเภทที่มีสมาชิกประสงค์รับบริการด้านเดียวกันมีวัตถุประสงค์
1. แก้ไขปัญหาความเดือนร้อนตามความต้องการในการรับบริการร่วมกันของสมาชิก
2. แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและการให้บริการสาธารณะแก่สมาชิก
3. ส่งเสริมการออมของสมาชิก
สหกรณ์บริการประเภทที่มีสมาชิกประสงค์รับบริการด้านเดียวกันมีขอบเขตแห่งการดำเนนิกิจการ
1. จัดหาทุนเพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุปะสงค์ของสหกรณ์ โดยวิธีการขายหุ้น การรับฝากเงินและการกู้ยืมเงิน
2. ฝากเงินหรือลงทุนอย่างอื่นตามมาตรา 62
3. จัดให้มีเงินกู้หรือสินเชื่อแก่สมาชิกเพื่อการเคหะ และเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพหรือให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงิน
4. จัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อจำหน่ายแก่สมาชิก
5. จัดหาและพัฒนาที่ดิน หรือที่ดินพร้อมที่อยู่อาศัยให้แก่สมาชิก
6. จัดหาหรือสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่สมาชิกโดยการซื้อ เช่า หรือเช่าซื้อ รวมทั้งจัดซื้อวัสดุก่อสร้างและสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้อง
7. ต่อเติม ซ่อมแซม ปรรับปรุง ดูแลรักษาบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย และให้บริการอื่น ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของสมาชิก
8. พัฒนาหมู่บ้าน รวมทั้งจัดให้มีบริการสาธารณะและบริการทั่วไปอื่นที่เกี่ยวข้องแก่สมาชิก
9. ส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก
10. ดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์หรือการให้บริการแก่สมาชิกเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของสหกรณ์ประะเภทที่มีสมาชิกประสงค์รับบริการด้านเดียวกัน
ความเป็นมา
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เป็นอีกสหกรณ์ประเภทหนึ่งตามประกาศกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียน พ.ศ. 2548 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2548 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการรวมคน เพื่อทำกิจกรรมเรื่องการออมและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ในประเทศไทยได้เริ่มจัดตั้งกลุ่มขึ้นแห่งแรกเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2508 “ กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนแห่งศูนย์กลางเทวา ” และได้แพร่ขยายการจัดตั้งสหกรณ์และกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนทั่วประเทศไทยขึ้นเป็นจำนวนมากภายใต้ปรัชญาและอุดมการณ์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนที่มุ่งจะพัฒนาคนให้ช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักการและวิธีการสหกรณ์ รวมทั้งเพื่อพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนที่จะรับจดทะเบียนได้ต้องมีลักษณะเป็นสหกรณ์ที่ตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของสมาชิกซึ่งเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1. ผู้ซึ้งอยู่อาศัยในชุมชนเดียวกันหรือชุมชนใกล้เคียงกันภายในพื้นที่อำเภอเดียวกัน
2. ผู้ประกอบอาชีพหลักเดียวกันหรือยู่ในสังกัดหน่วยงาน องค์กร หรือสถานประกอบการเดียวกัน แต่ไม่มีเงินได้ประจำหรือมีรายได้ไม่แน่นอน หรือหน่วยงานต้นสังกัดไม่สามารถหักเงิน ณ ที่จ่าย ส่งให้แก่สหกรณ์ได้
3. กลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ภายในพื้นที่จังหวัดเดียวกัน โดยมีความเชื่อมโยงกันตามวงสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งทางสังคม และมีการพบปะหรือทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสมำเสมอ
สหกรณ์เครติดยูเนี่ยนมีขอบเขตแห่งการดำเนินกิจการ
1. จัดหาทุนเพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ โดยวิธีการขายหุ้น การรับฝากเงินและการกู้ยืมเงิน
2. ฝากเงินหรือลงทุนอย่างอื่นตามมาตรา 62
3. จัดให้มีเงินกู้หรือสินเชื่อแก่สมาิกเพื่อการประกอบอาชีพ การดำรงชีพ และเพื่อการเคหะหรือให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงิน
4. ส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก
5. ดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์หรือการให้บริการแก่สมาชิก เพื่อให้เป้นไปตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่
61 ถนนศรีตรัง ตำบลกระบี่ใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 81000
โทรศัพท์. 0-7566-3580 โทรสาร. 0-7566-3583 E-mail.
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2565 Copyright © 2022 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่
ภาพประกอบจากเว็บไซต์